วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 1



ภาระงานที่ 1: การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุปะสงค์ การเรียนรู้
ภาระงานที่๑: การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้(content analysis)
          เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียนที่วิเคราะห์จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้แล้วโดยแยกเป็นการกำหนดหัวข้อเนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจหรือสไลด์ในการนำเสนอ สามารถออกแบบได้ดั่งตารางดังนี้

ชื่อบทเรียน: คำขวัญ และภาษาถิ่น

หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา
หัวข้อเนื้อหา
๑.คำขวัญ

คำขวัญ เป็นถ้อยคำหรือคำคล้องจองเพื่อเตือนใจ หรือแสดงเอกลักษณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๒.ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในท้องถิ่นต่างๆ     
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
๑.หลังจากครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเขียนคำขวัญแล้วผู้เรียนสามารถแต่งคำขวัญโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมได้
๒.ผู้เรียนเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้




วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุป E-learning




"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้


  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
  • ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
  • ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
  • มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
  • มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
  • มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
  • ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
  • สนับสนุนการเรียนการสอน
  • เกิดเครือข่ายความรู้
  • เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
  • ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น 


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า E-learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ