วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 1



ภาระงานที่ 1: การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุปะสงค์ การเรียนรู้
ภาระงานที่๑: การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้(content analysis)
          เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียนที่วิเคราะห์จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้แล้วโดยแยกเป็นการกำหนดหัวข้อเนื้อหา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจหรือสไลด์ในการนำเสนอ สามารถออกแบบได้ดั่งตารางดังนี้

ชื่อบทเรียน: คำขวัญ และภาษาถิ่น

หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา
หัวข้อเนื้อหา
๑.คำขวัญ

คำขวัญ เป็นถ้อยคำหรือคำคล้องจองเพื่อเตือนใจ หรือแสดงเอกลักษณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๒.ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในท้องถิ่นต่างๆ     
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
๑.หลังจากครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเขียนคำขวัญแล้วผู้เรียนสามารถแต่งคำขวัญโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมได้
๒.ผู้เรียนเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้




วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุป E-learning




"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้


  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
  • ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
  • ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
  • มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
  • มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
  • มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
  • ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
  • สนับสนุนการเรียนการสอน
  • เกิดเครือข่ายความรู้
  • เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
  • ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น 


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า E-learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างแผนการสอน


                                                                แผนการจัดการเรียนรู้



                         หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 คำขวัญ                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

                         เรื่อง คำขวัญ และภาษาถิ่น                           เวลา 8 ชั่วโมง 
..................................................................................................................................

สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

               คำขวัญ เป็นถ้อยคำหรือคำคล้องจองเพื่อเตือนใจ หรือแสดงเอกลักษณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนภาษาถิ่น เป็นภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในท้องถิ่นต่างๆ

ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
  ตัวชี้วัด
ท 2.1 ป.4/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม
ท 4.1 ป.4/5 แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ
ป.4/7 เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. แต่งคำขวัญโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมได้
2. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้

สาระการเรียนรู้
  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. การเขียนสื่อสาร เช่น
- คำขวัญ
- คำแนะนำ
2. กลอนสี่
3. คำขวัญ
4. ภาษาไทยมาตรฐาน
5. ภาษาถิ่น

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการทำงานกลุ่ม
- กระบวนการปฏิบัติ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. รักความเป็นไทย

กิจกรรมการเรียนรู้

(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ, กระบวนการกลุ่ม)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

ชั่วโมงที่ 1-2
1. ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับคำขวัญในวันสำคัญต่างๆ แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกคำขวัญวันเด็กในปีนี้ แล้วครูเขียนบนกระดาน
2. ครูซักถามนักเรียนว่า วันสำคัญวันใดบ้าง ที่มีการแต่งคำขวัญ ให้นักเรียนช่วยกันตอบ และบอกคำขวัญวันสำคัญที่นักเรียนทราบ
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเขียนคำขวัญ และให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง คำขวัญ จากหนังสือเรียน แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น
4. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำขวัญสำคัญต่างๆ ทำเป็นรายงานส่งครู ตามหัวข้อต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 คำขวัญวันเด็ก
- กลุ่มที่ 2 คำขวัญวันแม่
- กลุ่มที่ 3 คำขวัญประจำจังหวัดต่างๆ
- กลุ่มที่ 4 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ไทย
- กลุ่มที่ 5 คำขวัญรณรงค์ด้านต่างๆ
5. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของคำขวัญ และประโยชน์ของคำขวัญ
6. นักเรียนทำแบบฝึกหัด ในหนังสือแบบฝึกหัด โดยสืบค้นคำขวัญจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างน้อย 5 คำขวัญ แล้วคัดคำขวัญลงในช่องว่างด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

ชั่วโมงที่ 3-4
1. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน และร่วมกันอภิปรายสาเหตุการเกิดปัญหาโลกร้อน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ครูบันทึกข้อมูลบนกระดาน
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มสำรวจบริเวณรอบโรงเรียนว่ามีบริเวณใดที่ควรติดคำขวัญรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนบ้าง
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง คำขวัญ แล้วส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคำขวัญที่แต่ง จากนั้นให้นำคำขวัญที่แต่งได้ไปติดไว้บริเวณที่สำรวจ เพื่อรณรงค์ลดโลกร้อนภายในโรงเรียน
4. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง คำขวัญ โดยให้นักเรียนแต่งคำขวัญตามหัวข้อที่กำหนด 2 คำขวัญ ให้มีความยาวไม่เกิน 16 คำ พร้อมวาดภาพประกอบคำขวัญให้สวยงาม
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง คำขวัญ

ชั่วโมงที่ 5-6
1. ครูสนทนาพูดคุยกับนักเรียนโดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบ ดังนี้
- ประเทศไทยแบ่งออกเป็นกี่ภูมิภาค อะไรบ้าง
- ใครมีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้บ้าง
- แต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันเรื่องใดบ้าง
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบ ครูสรุปเป็นความรู้บนกระดาน
3. ครูสนทนาเกี่ยวกับเรื่อง ภาษาถิ่น และให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ภาษาถิ่น จากหนังสือเรียน แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น
4. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำแบบทดสอบในหนังสือแบบฝึกหัด โดยหาคำภาษาถิ่นมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง และสืบค้นข้อมูลและเขียนภาษาถิ่นในภาคต่างๆ ให้ตรงกับคำภาษากลางที่กำหนด
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกหัด โดยจัดหมวดหมู่ของคำภาษาถิ่นที่กำหนดว่าเป็นภาษาถิ่นภาคใด โดยตรวจสอบจากพจนานุกรม
6. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ กลุ่มที่ทำเสร็จเร็วที่สุด และถูกต้องทั้งหมดจะเป็นฝ่ายชนะ
7. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กของท้องถิ่นต่างๆ แล้วครูเปิดเพลง อื่อจา ให้นักเรียนฟัง และฝึกร้องตาม
8. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายของเพลง อื่อจา
9. นักเรียนทำกิจกรรมรวบยอด ในหนังสือแบบฝึกหัด ดังนี้
- หาชื่ออาหารหรือผลไม้ของแต่ละภาคเป็นภาษาถิ่น ภาคละ 1 อย่าง พร้อมเขียนบอกลักษณะอาหารหรือผลไม้นั้นๆ และวาดรูปหรือติดรูปประกอบโดยทำเป็นการบ้าน
10. ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมทำใบงานที่ 1.2 ภาษาถิ่น โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างเพลงที่ใช้ภาษาถิ่นมา1 เพลง พร้อมทั้งบอกความหมายของภาษาถิ่นที่ปรากฏในเนื้อเพลง
11. ครูให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

ชั่วโมงที่ 7-8
1. ครูเปิดเพลง นอนสาหล่า ให้นักเรียนฟัง และให้นักเรียนฝึกร้องตาม แล้วครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายของเพลง
2. ครูเปิดเพลง นางนกเหวก ให้นักเรียนฟัง และให้นักเรียนฝึกร้องตาม แล้วครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายของเพลง
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาค แล้วสรุปลักษณะของเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาค
4. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.2 เรื่อง ภาษาถิ่น โดยให้นักเรียนหาคำภาษาถิ่นมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ภาษาถิ่น

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการวัด

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 


ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1


ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.2
ใบงานที่ 1.2
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง คำ
ขวัญ
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง คำ
ขวัญ
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
ประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.2 เรื่อง
ภาษาถิ่น
แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.2 เรื่อง
ภาษาถิ่น
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา) ป.4
2. แบบฝึกหัด ภาษาไทย ป.4
3. เพลงกล่อมเด็กภาคต่างๆ
4. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
5. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง คำขวัญ
6. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ภาษาถิ่น

แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. อินเทอร์เน็ต



ประวัติส่วนตัว





ประวัติส่วนตัว





ชื่อ นางสาว เกษรินทร์ คณาสวรรค์

ชื่อเล่น อัง รหัส 53181010103

เกิด วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2535

ที่อยู่ 86/2 หมู่2 ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 58140

เบอร์โทร 088-3467054

จบจาก โรงเรียนขุนยวมวิทยา

ชอบสี ชมพู ฟ้า ส้ม

สัตว์เลี้ยงที่ชอบ สุนัข ปลา

ความใฝ่ฝัน เป็นครูที่ดี

สิ่งที่เกลียด คนโกหกหลอกลวง

คติประจำใจ อดีตคือความฝัน ปัจุบันคือภาพมายา

สิ่งที่เห็นกับตาคือความเป็นจริง